"...คนเราถ้าพอใจในความต้องการ
ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด
อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า
พอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข..."
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหนึ่งในแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ได้พระราชทานเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตที่ยึดถือความพอเหมาะพอดีมีเหตุมีผลและความไม่ประมาท
พระองค์ทรงใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไข ปัญหาภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ทรงเห็นความสำคัญของความ
"พออยู่พอกิน" พึ่งมีผลต่อราษฎรและประเทศชาติ ที่สำคัญ คือ
เป็นแบบอย่างที่ดีใหิคนไทยดำเนินชีวิตบน
ทางสายกลาง มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพ
หลักการพึ่งตนเอง
1.ความพอดีด้านจิตใจ ต้องเข็มแข็ง
พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม
2.ความพอดีด้านสังคม
ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง
และมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง
3.ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด
และใช้ทรัพยากรในประเทศเพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นค.อยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป
4.ความพอดีด้านเทคโนโลยี
รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการ
และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง
เพื่อสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
5.ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
เพื่อรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่าง
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง...
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง...
2.
ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม
ดังพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก
การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ของตนเป็นหลักสำคัญ. . .
3.
ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต
ดังพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น
หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา
และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น.
. .
4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้
โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
ตอนหนึ่งที่ให้ ดังพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่
จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า
ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป
ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . .
5.
ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป
ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว
ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่
พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น
ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . .ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า "พอ"
ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข
ที่มา : http://www.rdpb.go.th/